วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555


คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรินิกสที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 สว่นคือ
สว่นที่ 1 หน่วยรับข้อมูลเข้า Input unit
เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
-แป้นอักขระ keyboard
-แผ่นซีดี cd-rom
-ไมโครโฟน microphone เป็นต้น
ส่วนที่2 หน่วยประมวลผลกลาง central processing unit
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
สว่นที่3 หน่วยความจำ memmory unit
ทำหน้าที่ที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่ 4 หน่วยแสดงผล output unit
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่ 5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ peripheral equipment
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม modem แผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นต้น

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็วช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน

ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลของมันให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบภาษี ระบบทะเบียนราษฎ์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวช ระบบของโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

องค์ประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยสว่นที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ hardware
2. ซอฟแวร์
3.ข้อมูล
4.บุคลากร

ฮาร์ดแวร์ hardware
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณืส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1 ส่วนประมวลผล processor
2. หน่วยความจำ memory
3.อุปกรณ์รับข้าและส่งออก
4. อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล storage divic
สว่นที่1 cpu
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวณผลและเปรียบเทียบข้อมูลโยการเปลียนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ความสามารถของ ซีพียู นั้นพิจารณาจากการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียู ขึ้นอยู่กับให้จังหวะที่เยกว่า สัญญาณนาใก เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาทีมีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์ เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที
ส่วนที่2 หน่วยความจำ memory
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. หน่วยความจำหลัก main
2. หน่วยความจำสำรอง sec

1. หน่วยความจำหลัก
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือบอกคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดย ซีพียู ทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและออกมาจากหน่วยความจำ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่ของหน่วยความจำในการทำงานของประมวลผลและเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วยความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือจำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถเก็บข้อมูลได้สูง

หน่วยประมวลผลกลาง
หน่วยประมวลผลกลางหรือ ซีพียู มีความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่างคือ
1. ซิป ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องมีซีพียู บรรจุอยู่


หน่วยความจำหลัก แบ่งได้ 2 ประเภท คือ หน่วยความจำแบบ แรม (ram) และหน่วยความจำแบบ รอม (rom)

1.หน่วยความจำแบบแรม (ram) เป็นหน่วยความจำที่ต้องการอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (viatile memory)
2.หน่วยความจำแบบรอม (rom) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิ้วเตอร์ เป็นความจำถาวรที่ไม่สามารถลบเลือนได้


2.หน่วยความจำสำรอง (secondary memory unit)
หน่วยความจำสำรองหรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากเราปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว

หน่วยความจำสำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูลโปรแกรมได้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง


ประโยชน์หน่วยความจำสำรอง
จะช่วยแก้ไขปัญหาการสูญหายของข้อมูลอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามาประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์ที่ได้ถูกนำไปเก็บในความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทางไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำรอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว่ใช้งานในครั้งต่อไป หน่วยความจำประเภทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปแบบของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นบันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำแบบเเฟลช หน่วยความจำรอง ถึงไม่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้ปกติ



ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนแสดงผลข้อมูล คือ ส่วนที่แสดงข้อมูลจากสัญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลางให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้อุปกรณ์ที่แสดงผลข้อมูล ได้แก่ จอภาพ (monitor หรือ screen) เครื่องพิมพ์ (printer) เครื่องพิมพ์ภาพ (ploter) และลำโพง (speaker ) เป็นต้น



บุคลากรคอมพิวเตอร์ (peopleware)

บุคลากรคอมพิวเตอร์ (peopleware) หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่นอาจประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์


ประเภทบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (peopleware)

1.ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน
2.ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม
3.ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ





บุคลากรในหน่วยงานทางคอมพิวเตอร์
1.หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ edp manager
2.หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน sytem analyst หรือ sa
3.โปรแกรมเมอร์ programmer
4.ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์
5.พนักงานปฏิบัติงาน


-นักวิเคราะห์ระบบงาน
ทำการศึกษาระบบงานเดิมออกแบบระบบงานใหม่
-โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว่มาสร้างเป็นโปรแกรม
-วิศวกรรมระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้างซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
-พนักงานปฏิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอวพิวเตอร์





1.ผู้จัดการระบบ system manager
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2.นักวิเคราะห์ระบบ system analyst
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะหืความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3.โปรแกรมเมอร์ programmer
คือ ผู้เขียนโปรแกรมคำสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราห์ระบบได้เขียวนไว้

4.ผู้ใช้ user
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไปซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้เครื่องและวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามต้องการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น